เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
เป้าหมายย่อย 3.1 ลดอัตราการตายของมารดาทั่วโลกให้ต่ำกว่า 70 คน ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2573
• ตัวชี้วัด 3.1.1 อัตราส่วนการตายของมารดา (ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 คน)
• ตัวชี้วัด 3.1.2 สัดส่วนของการคลอดบุตรที่ดูแลโดยบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีความชำนาญ
เป้าหมายย่อย 3.2 ยุติการตายที่ป้องกันได้ของทารกแรกเกิดและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยทุกประเทศมุ่งลดอัตราการตายในทารกลงให้ต่ำถึง 12 คน ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน และลดอัตราการตายในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ลงให้ต่ำถึง 25 คน ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2573
• ตัวชี้วัด 3.2.1 อัตราการตายของทารกอายุต่ำกว่า 5 ปี (ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน)
• ตัวชี้วัด 3.2.2 อัตราตายของทารกแรกเกิด (ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน)
เป้าหมายย่อย 3.3 ยุติการแพร่กระจายของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
• ตัวชี้วัด 3.3.1 จำนวนผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ต่อประชากรที่ไม่มีการติดเชื้อ 1,000 คน จำแนกตามเพศ อายุ และประชากรหลัก
• ตัวชี้วัด 3.3.2 อัตราการเกิดโรควัณโรคต่อประชากร 100,000 คน
• ตัวชี้วัด 3.3.3 อัตราการเกิดโรคมาลาเรียต่อประชากร 1,000 คน
• ตัวชี้วัด 3.3.4 อัตราการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบบี ต่อประชากร 100,000 คน
• ตัวชี้วัด 3.3.5 จำนวนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในการดูแลรักษาโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย (Neglected tropical diseases)
เป้าหมายย่อย 3.4 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านทางการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี พ.ศ. 2573
• ตัวชี้วัด 3.4.1 อัตราการตายของผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
• ตัวชี้วัด 3.4.2 อัตราการฆ่าตัวตาย
เป้าหมายย่อย 3.5 เสริมสร้างการป้องกันและการรักษาการใช้สารในทางที่ผิด ซึ่งรวมถึงการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิดและการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่เป็นอันตราย
• ตัวชี้วัด 3.5.1 ความคลอบคลุมของการรักษา (การรักษาโดยใช้ยา ทางจิตเวชและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และบริการการติดตามผลการรักษา) สำหรับผู้ที่ใช้สารเสพติด
• ตัวชี้วัด 3.5.2 การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับอันตราย นิยามตามบริบทของประเทศ คิดเป็นปริมาณแอลกอฮอล์ต่อหัวประชากร (อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป) ในจำนวนลิตรของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ภายในปีปฏิทิน
เป้าหมายย่อย 3.6 ลดจำนวนการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนนทั่วโลกลงครึ่งหนึ่ง ภายในปี พ.ศ. 2563
• ตัวชี้วัด 3.6.1 อัตราผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน
เป้าหมายย่อย 3.7 สร้างหลักประกันถ้วนหน้า ในการเข้าถึงบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการวางแผนครอบครัว ข้อมูลข่าวสารและความรู้ และการบูรณาการอนามัยการเจริญพันธุ์ในยุทธศาสตร์และแผนงานระดับชาติ ภายในปี พ.ศ. 2573
• ตัวชี้วัด 3.7.1 สัดส่วนของหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-49 ปี) ซึ่งต้องการวางแผนครอบครัวที่พึงพอใจกับการวางแผนครอบครัวด้วยวิธีสมัยใหม่
• ตัวชี้วัด 3.7.2 อัตราการคลอดบุตรในหญิงอายุ (10-14 ปี, 15-19 ปี) ต่อผู้หญิงอายุ (10-14 ปี 15-19 ปี) 1,000 คน
เป้าหมายย่อย 3.8 บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้
• ตัวชี้วัด 3.8.1 ความครอบคลุมของบริการด้านสุขภาพที่จำเป็น
• ตัวชี้วัด 3.8.2 สัดส่วนของประชากรที่มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนด้านสุขภาพต่อค่าใช้จ่ายครัวเรือนหรือรายได้ทั้งหมด อยู่ในระดับสูง
เป้าหมายย่อย 3.9 ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดิน ให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี พ.ศ. 2573
• ตัวชี้วัด 3.9.1 อัตราการตายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศในบ้านเรือนและในบรรยากาศ
• ตัวชี้วัด 3.9.2 อัตราการตายที่เกิดจากน้ำ และการสุขาภิบาลที่ไม่ปลอดภัย และขาดสุขลักษณะ (เผชิญกับบริการด้านน้ำ สุขาภิบาลและสุขอนามัยที่ไม่ปลอดภัย)
• ตัวชี้วัด 3.9.3 อัตราการตายที่เกิดจากการได้รับสารพิษโดยไม่ตั้งใจ
เป้าหมายย่อยที่ 3.a เพิ่มความเข้มแข็งในการดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบในทุกประเทศตามความเหมาะสม
• ตัวชี้วัด 3.a.1 ความชุกที่ปรับมาตรฐานอายุแล้ว (age-standardized) ของการใช้ยาสูบ/บุหรี่ในปัจจุบันของกลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
เป้าหมายย่อย 3.b สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาวัคซีนและยาสำหรับโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศกำลังพัฒนา ให้มีการเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นในราคาที่สามารถซื้อหาได้ตามปฏิญญาโดฮาว่าด้วยความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIPS) และการสาธารณสุข ซึ่งเน้นย้ำสิทธิสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่จะใช้บทบัญญัติในความตกลง TRIPS อย่างเต็มที่ในเรื่องการผ่อนปรนเพื่อจะปกป้องสุขภาพสาธารณะและโดยเฉพาะการเข้าถึงยาโดยถ้วนหน้า
• ตัวชี้วัด 3.b.1 สัดส่วนของประชากรเป้าหมายที่เข้าถึงวัคซีนพื้นฐานทุกชนิดที่บรรจุอยู่ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ
• ตัวชี้วัด 3.b.2 ยอดรวมสุทธิความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ด้านการวิจัยทางการแพทย์และด้านสุขภาพพื้นฐาน
• ตัวชี้วัด 3.b.3 สัดส่วนของสถานพยาบาลที่มีชุดยาจำเป็น (core set of relevant essential medicines) ในราคาที่ซื้อหาได้อย่างยั่งยืน
เป้าหมายย่อย 3.c เพิ่มการใช้เงินสนับสนุนด้านสุขภาพ และการสรรหา การพัฒนา การฝึกฝน และการเก็บรักษากำลังคนด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
• ตัวชี้วัด 3.c.1 ความหนาแน่นและการกระจายตัวของบุคลากรด้านสาธารณสุข
เป้าหมายย่อย 3.d เสริมขีดความสามารถของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา ในด้านการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
• ตัวชี้วัด 3.d.1 ศักยภาพในการดำเนินการตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) และการเตรียมความพร้อมสาหรับภาวะฉุกเฉินด้านสุขอนามัย
• ตัวชี้วัด 3.d.2 ร้อยละของการติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อดื้อยาที่เลือกพิจารณา