SDG 1

เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่  (เป้าหมายที่มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุลมุ่งมั่น)

  • เป้าหมายย่อย 1 ขจัดความยากจนขั้นรุนแรงของประชาชนในทุกพื้นที่ให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งปัจจุบันความยากจนวัดจากคนที่มีค่าใช้จ่ายดำรงชีพรายวันต่ำกว่า $1.90 ต่อวัน
  • ตัวชี้วัด 1.1.1 สัดส่วนของประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนสากล จำแนกตามเพศ อายุ สถานะการจ้างงาน และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ (ชุมชนเมือง/ชนบท)
  • เป้าหมายย่อย 2 ภายในปี พ.ศ. 2573 ลดสัดส่วน ชาย หญิง และเด็ก ในทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศ ให้ลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
  • ตัวชี้วัด 1.2.1 สัดส่วนของประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศ จำแนกตามเพศ และอายุ
  • ตัวชี้วัด 1.2.2 สัดส่วนของผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กในทุกช่วงวัยที่ยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศ
  • เป้าหมายย่อย 3 ดำเนินการให้ทุกคนมีระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคมระดับประเทศที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงฐาน การคุ้มครองทางสังคม (floors) โดยให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรยากจน และกลุ่มเปราะบางให้มากพอ ภายในปี พ.ศ. 2573
  • ตัวชี้วัด 1.3.1 สัดส่วนของประชากรที่ได้รับความคุ้มครองตามระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคม จำแนกตามเพศ และแบ่งเป็น เด็ก ผู้ว่างงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเกิดใหม่ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน ผู้ที่ยากจนและเปราะบาง
  • เป้าหมายย่อย 4 ภายในปี พ.ศ. 2573 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน การเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดินและทรัพย์สินในรูปแบบอื่น มรดก ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และบริการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงระบบการเงินระดับฐานราก (microfinance)
  • ตัวชี้วัด 1.4.1 สัดส่วนของประชากรอาศัยในครัวเรือนที่เข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน
  • ตัวชี้วัด 1.4.2 สัดส่วนของประชากรผู้ใหญ่ที่มีสิทธิครอบครองที่ดินอย่างมั่นคง โดย (ก) มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมาย และ (ข) ทราบว่าสิทธิครอบครองที่ดินของตนมีความมั่นคง จำแนกตามเพศ และประเภทการถือครอง
  • เป้าหมายย่อย 5 ภายในปี พ.ศ. 2573 สร้างภูมิต้านทานให้กับผู้ที่ยากจนและอยู่ในสถานการณ์เปราะบาง รวมทั้งลดความเสี่ยงและความล่อแหลมต่อภาวะสภาพอากาศผันผวนรุนแรง การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ
  • ตัวชี้วัด 1.5.1 จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน (ภัยพิบัติ รวมถึง อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย และภัยแล้ง)
  • ตัวชี้วัด 1.5.2 การสูญเสียทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากภัยพิบัติโดยตรงต่อ GDP โลก
  • ตัวชี้วัด 1.5.3 จำนวนประเทศที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลด ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558-2573
  • ตัวชี้วัด 1.5.4 สัดส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ
  • เป้าหมายย่อย a สร้างหลักประกันว่าจะมีการระดมทรัพยากรอย่าง มีนัยสำคัญจากแหล่งที่หลากหลาย รวมไปถึงการยกระดับ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีวิธีการที่เพียงพอและคาดการณ์ได้ในการดำเนินงานตามแผนงานและนโยบายเพื่อยุติความยากจนในทุกมิติ
  • ตัวชี้วัด 1.a.1 ผลรวมความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) เพื่อมุ่งลดความยากจน จากผู้ให้การสนับสนุนทั้งหมด ต่อรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ของประเทศผู้รับ
  • ตัวชี้วัด 1.a.2 สัดส่วนค่าใช้จ่ายรวมของภาครัฐในเรื่องการบริการที่สำคัญจำเป็น (การศึกษา สุขภาพ และความคุ้มครองทางสังคม)
  • เป้าหมายย่อย b สร้างกรอบนโยบายที่เหมาะสมในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ บนฐานของยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่เอื้อประโยชน์แก่คนจน (pro-poor) และคำนึงถึงความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ (gender-sensitive) เพื่อส่งเสริมให้มีการเร่งการลงทุนเพื่อปฏิบัติการขจัดความยากจน
  • ตัวชี้วัด 1.b.1 รายจ่ายสาธารณะทางสังคมที่เอื้อประโยชน์แก่คนจน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *